วิธีรักษา อาการนิ้วล็อค นิ้วติดสะดุด ข้อนิ้วติดงอ เกิดจากอะไร?..

โรคนิ้วติดสะดุด นิ้วล็อค หรือ ข้อนิ้วติดงอ คืออะไร?

โรคนิ้วติดสะดุด นิ้วล็อก หรือ ข้อนิ้วติดงอ (Trigger finger ) เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในคนทำงานที่ใช้มือในท่า กำบีบ อย่างแรง และ ซ้ำๆ บ่อยๆ ทำให้เกิดการอักเสบระหว่าง ปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นทางด้านฝ่ามือที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือที่บริเวณโคนนิ้วมือนั้นๆ

จนทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไปมาไม่สะดวก เกิดการฝืด ขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือ ถ้ามีอาการมากขึ้นจะพบว่า เมื่องอหรือกำนิ้วมือเข้ามา จนสุด จะมีเสียงดัง "กิ๊ก” แล้วนิ้วจะติดงออยู่อย่างนั้น ไม่สามารถเหยียดออกเองได้ ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วย ง้างนิ้วมือนั้นเหยียดออก ซึ่งจะมีอาการปวดที่โคนนิ้วมาก

เฝือกดามนิ้วล็อค เสริมแกนเหล็ก

ดูเพิ่มเติม ↓
เฝือกดามนิ้วล็อค เสริมแกนเหล็ก »

โรคนี้พบบ่อยในวัยกลางคน และเพศหญิงพบ มากกว่าเพศชาย โรคนี้สามารถพบร่วมกับโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน สตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด ผู้ป่วยที่ขา ไม่ดี (เข่าเสื่อม สะโพกเสื่อม ฯลฯ ) ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เดินเช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน (ทำให้ฝ่ามือต้องกดจับด้าม)

สาเหตุ เกิดจากอะไร

1. การใช้งานของนิ้วมือมากและนานๆ ในท่ากำมือหรือ งอนิ้วมือ

ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชีพ และการทำกิจวัตร ประจำวันต่างๆ พบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน แม่ครัว ช่าง ตัดเสื้อผ้า ช่างทำผม หมอนวดแผนโบราณ ช่างซ่อม นักกีฬา กอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิส

2. เป็นมาแต่กำเนิด พบในเด็ก (Congenital trigger finger)

ส่วนใหญ่มักเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ โดยนิ้วจะอยู่ใน ท่างอ บางครั้งพบทั้ง 2 ข้าง หรืออาจมีนิ้วอื่นร่วมด้วย อาการนี้อาจหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เพียงช่วยคลึงฐาน นิ้วหรือบริหารนิ้ว / การดัดนิ้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจต้อง ได้รับการผ่าตัดเมื่ออายุประมาณ 1 – 2 ปี

3. ภาวะที่มีการหนาตัวขึ้นของเยื่อหุ้มเส้นเอ็น

โดยที่ ปลอกหุ้มเอ็นจะหนาหรือไม่หนาก็ได้ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ทำให้เกิดอาการนิ้วติดขัดขึ้นได้

อาการ และ วิธีรักษา

อาการ และวิธีการรักษา มีอยู่ 4 ระดับ คือ

ระดับที่ 1.

อาการ : เจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด

วิธีรักษา :

  • พักการใช้งานของนิ้วมือในท่าที่กำมือ / งอนิ้วมากๆ
  • รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • แช่นิ้วมือด้วยน้ำอุ่น

ระดับที่ 2. 

อาการ : เจ็บฐานนิ้ว นิ้วสะดุด กระเด้ง กำมือหรือ เหยียดมือไม่สะดวก มีอาการเสียงดังเวลางอหรือเหยียด

วิธีรักษา :

  • รับประทานยาต้านการอักเสบ
  • การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่พาราฟิน การทําอัลตราซาวด์
  • ฉีดยาสเตียรอยด์ (Steroid) เข้าไปบริเวณ ปลอกเอ็น เพื่อลดการบวมของเส้นเอ็นและปลอกเอ็น ทำให้อาการดีขึ้น แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้น ได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ พบว่าประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วติดสะดุด ส่วนอีก ร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่ 2

ระดับที่ 3.

อาการ : นิ้วล็อก ตรงข้ามแกะ ง้างออก งอนิ้วมือ จะติดต้องใช้มือด้าน

วิธีรักษา :

  • เช่นเดียวกับระดับ 2 หรืออาจใช้วิธีการผ่าตัด

ระดับที่ 4.

อาการ : นิวล็อกติดยึด แกะไม่ออก งอหรือเหยียดนิ้วไม่ได้เลย

วิธีรักษา :

  • ผ่าตัด

การปฏิบัติตัว เมื่อเป็นโรคนิ้วติดสะดุด นิ้วล็อค

  1. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่มีอาการเล่น เพราะจะทำ ให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
  2. เมื่อต้องทำงานที่ต้องกำ จับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับ ตะหลิวผัดกับข้าว จับไม้กอล์ฟ ฯลฯ ควรดัดแปลง อุปกรณ์ที่ต้องใช้สม่ำเสมอนั้น โดยการพันฟองน้ำ หรือผ้ารอบๆ ด้ามจับ เพื่อให้ด้ามจับอ้วนขึ้นในขนาดที่ พอเหมาะ ที่สามารถทำได้หลวมๆ โดยไม่เมื่อยนิ้วมือ
  3. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า การแช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับ มือ กำ แบ เบาๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

การป้องกัน

เนื่องจากโรคนี้ เป็นภัยเงียบ ที่มีสาเหตุ ป้องกันได้ ขอเพียงแต่ ตระหนัก คิดถึง และพยายามลด ความ เสี่ยง โดยการหลีกเลี่ยงการใช้มือที่ต้องงอนิ้วมือ กำ บีบ นิ้ว ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ซึ่งบางกิจกรรมป้องกันได้ บางกิจกรรม ใช้เครื่องทุ่นแรงได้ จึงควรปฏิบัติดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการยกของหนักด้วยมือเปล่า โดยควรใส่ ถุงมือและหรือใช้รถเข็น ช่วยทุ่นแรง
  2. หลีกเลี่ยงการหิ้วของหนักๆ ด้วยมือเปล่า หรือใช้นิ้ว เกี่ยว โดยให้ใช้ผ้าขนหนู หรือแผ่นฟองน้ำรองรับ บริเวณฝ่ามือ หรือใช้มือช้อนอุ้มพยุงด้วยฝ่ามือ
  3. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยมือเปล่า โดย ควรใส่ถุงมือในขณะทำงานเหล่านี้ เช่น ขุดเจาะพื้นปูนหรือพื้นดิน ขันไขควง ประแจ ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ขับขี่ มอเตอร์ไซด์ ตีกอล์ฟ เป็นต้น
  4. เลี่ยงการออกกำลังมือโดยใช้สปริงมือบีบ ควรออก กำลังมือโดยการกำ แบ หรือใช้ลูกกลิ้งบริหารมือ
  5. การทำกิจกรรมที่ใช้ด้ามจับอุปกรณ์ เป็นเวลานานๆ ควรเสริมให้ด้ามจับใหญ่พอดีมือและนุ่มมือ เช่น อุปกรณ์ ไดร์เป่าผม อุปกรณ์ทำครัวหนักๆ (ด้ามจับกระทะ ตะหลิว )
  6. ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น เครื่องซักผ้า สายยางรดน้ำ ต้นไม้ เครื่องบดหรือสับอาหาร

การค้นหาเพิ่มเติม ↓
เฝือกดามนิ้วล็อค แบบไหนขายดีที่สุด?

รายละเอียดเพิ่มเติม