ต้นหยาดลิ้นงาม พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง

หยาดลิ้นงาม คืออะไร?

ต้นหยาดลิ้นงาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Microchirita personata C. Puglisi อยู่ในวงศ์ชาฤาษี Gesneriaceae คำระบุชนิด “personata” มาจากลักษณะกลีบดอกรูปปากเปิด (bilabiate) ที่กลีบซีกบนและซีกล่างอยู่ชิดกันมากเนื่องจากกลีบซีกล่างโค้งนูนขึ้น (personate corolla)

หยาดลิ้นงาม เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic) พบเฉพาะแถบตะวันตกของไทย จัดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered)

ต้นหยาดลิ้นงาม พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง

ดูเพิ่มเติม ↓
เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ป่าคละพันธุ์ 7ชนิด

ลักษณะหยาดลิ้นงาม

ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว สูงได้ถึง 40 ซม. ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 3-30 ซม. ยาว 4-40 ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนมนกลมหรือบางครั้งกึ่งรูปหัวใจ ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มีขนทั้ง 2 ด้าน

ดอกหยาดลิ้นงาม

ช่อดอกออกที่โคนเส้นกลางใบ ก้านช่อดอกสั้นมาก ดอกขนาดเล็ก กลีบซีกบนสีเขียว ซีกล่างสีขาว มีแต้มสีเหลืองที่โคนกลีบกลาง

หยาดลิ้นงามตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก ในวารสาร Kew Bulletin ของสวนพฤกษศาสตร์คิว เล่มที่ Kew Bull. 71(1)-2: 1 ปี 2016 ตัวอย่างต้นแบบ หมายเลข Middleton, Hemrat, Karaket, Puglisi & Suddee 5688 เก็บ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ปี 2014 เป็นชนิดที่ผู้วิจัยจัดให้อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered)

การค้นหาเพิ่มเติม ↓
พันธุ์ไม้ดอก ต้นไม้ดอกอะไรขายดีที่สุด?

ที่มาข้อมูลและภาพ: BKF Forest Herbarium

รายละเอียดเพิ่มเติม