ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีลายหยัก มอธผีเสื้อกลางคืน ใกล้สูญพันธุ์
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก ชื่อวิทยาศาสตร์ Actias maenas Doubleday อยู่ในวงศ์ Saturniidae มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษว่า The Moon Moth
ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก เป็นผีเสื้อกลางคืน หรือ มอธ อยู่ในกลุ่มแมลงคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 สถานภาพหายากใกล้สูญพันธุ์ ห้ามซื้อขายและมีไว้ครอบครอง

ดูเพิ่มเติม ↓
หนังสือ"ผีเสื้อ แสนสวย" ราคาถูก »
ลักษณะ
- ลำตัวมีขนหนา ปลายหนวดแตกเป็นขนนก
- ปีกหน้า ตัวผู้ สีเหลืองมะนาว กลางปีกมีแถบสีน้ำตาลอมชมพู และสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแดง จุดตารูปเคียวสีทองแดงที่กลางปีกติดกับขอบปีก ตัวเมีย สีจางกว่า เป็นสีเหลืองอ่อน จุดตารูปเคียวสีทองขนาดใหญ่
- ปีกหลัง ตัวผู้ สีเหมือนปีกหน้า แต่มีหางยาวปลายหางรูปธง มีขนหนาที่ขอบปีกติดกับท้อง จุดตารูปไข่หรือกลม ตัวเมีย จุดตาเป็นรูปไต สีส้มเหลืองถึงเหลืองจาง หางยาวปลายหางรูปธง ,ด้านท้อง ปีกหน้า ตัวผู้ สีจางกว่าด้านหลัง จุดและเส้นสีน้ำตาลเทา จุดตาสีน้ำตาล
- ปีกหลัง ตัวผู้ มีเส้นขวาง 2 เส้น ตัวเมีย มีเส้นขวาง 1 เส้น จุดตาสีชมพู รูปไข่ มองเห็นเส้นปีกชัด
พฤติกรรม
ออกหากินเวลากลางคืน เวลากลางวันชอบเกาะนอนตามมุมมืดในพุ่มไม้ทึบ
เขตแพร่กระจาย
อินเดีย จีน เมียนมาร์ ไทย ตะวันตกของมาเลเซีย หมู่เกาะซุนดา อินโดนีเซีย (Java, Sulawesi)
การค้นหาเพิ่มเติม ↓
หนังสือผีเสื้อ เล่มไหนที่ขายดีที่สุด?
ที่มาข้อมูลและภาพ: อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่